ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลานิล




การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลานิล

            เมื่อครั้งทรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าชายอากิฮิโตมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ทูลเกล้าฯถวายลูกปลาสกุลเดียวกับปลาหมอเทศซึ่งเจริญเติบโตง่ายแข็งแรงและออกลูกง่าย ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า ปลานิล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus และพระราชทานพันธุ์ปลาจำนวน ๑๐๐๐๐ ตัว จากบ่อปลาสวนจิตรลดาให้แก่กรมประมง เพื่อนำไปขยายพันธุ์ ที่สถานีประมงของจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ และปล่อยลงแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักทั่วโลก ในนาม ปลานิลสายพันธ์ุจิตรลดา 

          ปลานิลจึงกลายเป็นปลาสำคัญของไทย ช่วยให้เกษตรกรไทยมีอาชีพเพาะเลี้ยงปลานิลขาย เป็นปลาที่เเพร่หลาย ราคาถูก ทำให้ราษฎรเเม้ยากจนก็สามารถหามาบริโภคได้ตามพระราชประสงค์ ที่ทรงต้องการให้ราษฎรมีอาหารโปรตีนบริโภคกันอย่างทั่วถึง รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออาชีพปีะมงของประชาชนอย่างมหาศาลในปัจจุบัน

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปลานิลพระราชทาน



อ้างอิง
ฝ่ายวิชาการสถาพรบุ๊คส์.(๒๕๖๐).หนังสือชุดศาสตร์พระราชาสวนจิตรลดา.กรุงเทพ:สถาพรบุ๊คส์.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประโยชน์ของศาสตร์พระราชาเรื่อง โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

      กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาในศาสร์พระราชาในเรื่อง โครงการสวนจิตรลดา ได้รับประโยชน์ ดังนี้         ๑.ได้ความรู้จากการวิจัยผลผลิตทางการเกษตรในโครงสวนจิตรลดา         ๒.นำความรู้จากการเพาะเลี้ยงปลานิลมาปรับใช้ในครัวเรือน         ๓.เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ          ๔.ได้ทราบถึงประวัติ การดำเนินการ และจุดประสงค์ของโครงการสวนจิตรลดา    ความรู้สึกของสมาชิกในกลุ่มหลังจากได้ศึกษา ศาสตร์พระราชา โครงการสวนจิตรลดา มีดังนี้                        สมาชิกคนที่ ๑. ด.ญ.เกศินี ชุมศรี มีความเห็นว่า โครงการสวนจิตรลดานี้เป็นโครงการที่เน้นความสำคัญของคุณภาพชีวิตประชาชน ทั้งเกษตรกรและประชาชนทั่วไป สามารถนำแนวทางที่ได้จากโครงการนี้ไปปรับใช้ในครัวเรือนของตนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและความอยู่ดีกินดีอย่างพอเพียงได้  และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้  นำผลผลิตที่มีอยู่ในชุมชนและครัวเรือนมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด                                สมาชิกคนที่ ๒. ด.ญ.ชนนิกานต์ คำชู มีความเห็นว่า โครงการสวนจิตรลดานี้สามารถช่วยประชาชนได้เป็นอย่างดี เพราะโครงการนี้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

โรงเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

โรงเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช        การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือการนำเซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะบางส่วนของพืช เช่น ยอด ลำต้น ใบราก  ส่วนต่างๆของดอกหรือผล การเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ในสถานที่ปลอดเชื้อ ทำให้ขยายพันธุ์ได้ในปริมาณมาก หรือรวดเร็วและไม่กลายพันธุ์ พืชเป้าหมายในระยะเเรกของโครงการ คือ สมอไทย ขนุนพันธุ์ดี พุดสวน มณฑา และยี่หุก ขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุกรรมของพืช ในสภาวะปลอดเชื้อในอุณหภูมิต่ำ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต อ้างอิง ฝ่ายวิชาการสถาพรบุ๊คส์ .( ๒๕๖๐ ). หนังสือชุดศาสตร์พระราชาสวน จิตรลดา .กรุงเทพ ฯ : สถาพรบุ๊คส์ .

โรงนมผงสวนดุสิต

โรงนมผงสวนดุสิต         ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ เนื่องจากเกษตรกรโคนมในประเทศไทย ประสบปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด ส่งผลให้เกษตรกรต้องนำนมดิบในปริมาณมากไปเททิ้งอย่างน่าเสียดาย ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการที่เกษตรกรขาดความรู้และความเข้าใจที่จะควบคุมคุณภาพและไม่ทราบถึงวิธีการเก็บรักษาน้ำนมดิบ พระองค์ฺจึงมีพระราชดำริให้หสร้างฏโรงนมผงขนาดย่อมขึ้นเพื่อทำการศึกษาค้นคว้าการแปรรูปน้ำนมดิบให็เป็นนมผง เพื่อให้เก็บรักษาไว้ได้ง่ายขึ้น            ต่อมาโครงการส่วนพระองค์ฯได้แปรรูปนมผงให้เป็นทอฟฟี่รสนมแต่ไม่เป็นที่นิยม จึงพัฒนาต่อยอดโดยการนำนมผงมาตอกเม็ดให้กลายเป็น นมอัดเม็ด ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมอย่างมาก จึงได้ก่อสร้าง โรงนมเม็ดสวนดุสิต เพื่อเป็นโรงงานตัวอย่างให้ผู้สนใจได้มาศึกษาวิธีการผลิตนมเม็ด และส่งเสริมด้านโภชนาการให้แก่ประชาชนบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและราคาไม่แพง ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรงนมผงสวนดุสิต อ้างอิง  ฝ่ายวิชาการสถาพรบุ๊คส์ .( ๒๕๖๐ ). หนังสือชุดศาสตร์พระราชาสวนจิตรลดา .กรุงเทพ ฯ : สถาพรบุ๊คส์ .