ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

ความเป็นมาโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

                          ความเป็นมาโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา                                                พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชทรงปรารถนาที่จะให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขโดยเฉพาะอาชีพด้านเกษตรกรรม ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลักของประเทศ จึงทำให้เกิด โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาขึ้น โดยทรงใช้พื้นที่บางส่วนของสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๔ เป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง  หาวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆให้ถูกต้องตรงจุดด้วยพระองค์เองเพื่อเป็นโครงการตัวอย่างที่ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร โดยการดำเนินงานมุ่งเน้นยึดตามแนวพระราชดำริ 'เศรษฐกิจพอเพียง' ซึ่งเป็นแนวคิดสำพคัญในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของเกษตรอย่างยั่งยืน ให้สามารถพึ่งต้นเองได้ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ                                                                                                           ภายในโครงการสวนจิตรลดา มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศและการนำวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูง
โพสต์ล่าสุด

แปลงนาทดลอง

แปลงนาทดลอง            เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จไปทอดพระเนตรกิจกรรมของสถานีทดลองพันธุ์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ทำให้พระองค์สนพระราชหฤทัยที่จะทดลอง ทำนา ด้วยพระองค์เอง จึงทรงใช้พื้นที่ในสวนจิตรลดา เพื่อการศึกษาทดลองเรียนรู้ศาสตร์จากดินและพืช พระองค์ทรงให้กรมการข้าวจัดทำแปลงนาสาธิตในบริเวณสวนจิตรลดา และนำเอาพันธุ์ข้าวต่างๆ มาปลูกทดลองเพื่อทำการศึกษา โดยในครั้งแรกพระองค์ทรงขับรถไถนา หรือ ควายเหล็ก เครื่องทุ่นแรงทางการเกษตรที่ทันสมัยในขณะนั้น เพื่อเตรียมแปลงและหว่านข้าว ทรงทดลองใช้ปุ๋ยประเภทต่างๆ และนำดินจากทั้ง๔ ภูมิภาคมาทดลองปลูกข้าวไร่ เพื่อหาวิธีปลูกข้าวให้ได้ผลดีในพื้นที่ที่ไม่อำนวย เช่น ที่ดอน ที่เนิน ไหล่เขา เป็นต้น         การทำนาเป็นอาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ พระองค์ทรงให้ความสำคัญของผู้ประกอบอาชีพนี้ เมื่อถึงเดือนหกของทุกปี ซึ่งเป็นระยะที่ชาวนาเริ่มต้นการทำนา จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  ให้จัด พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เก็บเกี่ยวได้จากนาข้าวทด

เอทานอล

เอทานอล      การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเอทานอลภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การทดลองปลูกอ้อยหลายพันธุ์ เพื่อคัดเลือกพันธุ์ทีดีที่สุดนำมาทำเป็นเเอลกอฮอล์ นอกจากอ้อยที่ผลิตได้ภายในโครงการฯ แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังมีพระราชดำริให้ออกไปรับซื้ออ้อยจากเกษตรเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบอีกด้วย โดยโรงงานแอลกอฮอล์ซึ่งมีเครื่องหีบอ้อย ถังหมักหอกลั่นขนาดเล็ก เริ่มเดินเครื่องการผลิตครั้งเเรกใน พ.ศ.๒๕๓๙ สามารถผลิตเเอลกอฮอล์ได้ ๙๑ เปอร์เซ็นต์ได้ในอัตรา ๒.๘ ลิตรต่อชั่วโมง หลังจากนั้นโรงงานเเอลกอฮอล์ได้มีการปรับปรุงการกลั่นเรื่อยมา จนสามารถผลิตเเอลกอฮอล์บริสิทธิ์ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ หรือเอทานอล ได้เป็นผลสำเร็จ อ้างอิง ฝ่ายวิชาการสถาพรบุ๊คส์ .( ๒๕๖๐ ). หนังสือชุดศาสตร์พระราชาสวนจิตรลดา .กรุงเทพ ฯ : สถาพรบุ๊คส์

โรงผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง

โรงผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง            น้ำผึ้งสวนจิตรลดา เป็นน้ำหวานจากดอกไม้และจากแหล่ง ความหวานอื่นๆ ที่ผึ้งนำมาสะสมไว้ในรังผึ้ง โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงผึ้ง โดยการรับซื้อน้ำผึ้งและขี้ผึ้งจากเกษตรกร นำมาบรรจุขวดและหลอดจัดจำหน่ายส่วนขี้ผึ้งนำมาผลิตเป็นเทียนขี้ผึ้งของโครงการส่วนพระองค์ ฯ สำหรับใช้ในกิจการงานส่วนพระองค์ และงานพระราชพิธี         น้ำผึ้งที่มาจากผึ้งเลี้ยงนี้ มีคุณภาพทัดเทียมน้ำผึ้งธรรมชาติเป็นนำ้ผึ้งจากเกสรดอกลำไย จะมีกลิ่นหอมและรสอร่อย เป็นที่นิยมของตลาด อ้างอิง ฝ่ายวิชาการสถาพรบุ๊คส์ .( ๒๕๖๐ ). หนังสือชุดศาสตร์พระราชาสวนจิตรลดา .กรุงเทพ ฯ : สถาพรบุ๊คส์

โรงน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์

โ รงน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์            โรงงานน้ำผลไม้บรรจุกระป๋อง เริ่มโครงการเมื่อปลายเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๓๕ โดยมีวัตถุที่จะศึกษาอายุการเก็บรักษาของน้ำผลไม้แต่ละชนิด รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานขนาดเล็กที่จะผลิตน้ำผลไม้บรรจุกระป๋องน้ำผลไม้ที่ผลิต ได้แก่ น้ำมะม่วง น้ำขิง น้ำเก๊กฮวย น้ำอ้อย น้ำมะตูม น้ำสับปะรด น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะนาว น้ำลำไย น้ำใบเตย น้ำแห้ว น้ำตะไคร้ และน้ำส้ม   เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีประชาชนสนใจหันมานิยมดื่มน้ำผลไม้มากขึ้น รวมทั้งเป็นต้นแบบแก่ประชาชนผู้สนใจ ในการทำน้ำผลไม้บรรจุกระป๋อง เพื่อเป็นการใช้ผลผลิตทางการเกษตรอย่างคุ้มค่า อ้างอิง ฝ่ายวิชาการสถาพรบุ๊คส์ .( ๒๕๖๐ ). หนังสือชุดศาสตร์พระราชาสวนจิตรลดา .กรุงเทพ ฯ : สถาพรบุ๊คส์

โรงเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

โรงเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช        การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือการนำเซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะบางส่วนของพืช เช่น ยอด ลำต้น ใบราก  ส่วนต่างๆของดอกหรือผล การเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ในสถานที่ปลอดเชื้อ ทำให้ขยายพันธุ์ได้ในปริมาณมาก หรือรวดเร็วและไม่กลายพันธุ์ พืชเป้าหมายในระยะเเรกของโครงการ คือ สมอไทย ขนุนพันธุ์ดี พุดสวน มณฑา และยี่หุก ขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุกรรมของพืช ในสภาวะปลอดเชื้อในอุณหภูมิต่ำ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต อ้างอิง ฝ่ายวิชาการสถาพรบุ๊คส์ .( ๒๕๖๐ ). หนังสือชุดศาสตร์พระราชาสวน จิตรลดา .กรุงเทพ ฯ : สถาพรบุ๊คส์ .

โรงบดแกลบ

โรงบดแกลบ      โรงบดแกลบสร้างขึ้นเพื่อนำแกลบที่ได้จากโรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดามาใช้ประโยขน์ นอกจากการนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์แล้ว แกลบยังถูกนำมาอัดผ่านกระบอกเหล็กที่ได้รับความร้อนออกมาเป็นแท่ง เมื่อนำไปเผาจะได้ถ่านแกลบอัดแท่งใช้เป็นเชื้อเพลิง ช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่าอีกด้วย เป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าของแกลบซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการสีข้าว โดยถูกนำมาทำเป็นประโยชน์สูงสุด  นอกจากจะใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้ว ถ่านยังมีคุณสมบัติพิเศษคือการใช้ฟอกสีและดูดซับกลิ่น คุณประโยชน์จากถ่านอีกด้านหนึ่งคือ การใช้เป็นเป็นวัสดุปลูก โดยเฉพาะถ่านแกลบ สามารถใช้เป็นวัสดุปลูกชั้นเยี่ยม  โดยการผสมกับดิน ทำให้ดินเบามีความโปร่งร่วนซุยให้ผลนานกว่าการใช้อินทรียวัตถุชนิดอื่นๆ ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรงบดแกลบ อ้างอิง ฝ่ายวิชาการสถาพรบุ๊คส์ .( ๒๕๖๐ ). หนังสือชุดศาสตร์พระราชาสวนจิตรลดา .กรุงเทพ ฯ : สถาพรบุ๊คส์ .

การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลานิล

การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลานิล             เมื่อครั้งทรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าชายอากิฮิโตมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ทูลเกล้าฯถวายลูกปลาสกุลเดียวกับปลาหมอเทศซึ่งเจริญเติบโตง่ายแข็งแรงและออกลูกง่าย  พ ระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า ปลานิล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า   Oreochromis niloticus   และพระราชทานพันธุ์ปลาจำนวน ๑๐๐๐๐  ตัว จากบ่อปลาสวนจิตรลดาให้แก่กรมประมง เพื่อนำไปขยายพันธุ์ ที่สถานีประมงของจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ และปล่อยลงแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักทั่วโลก ในนาม ปลานิลสายพันธ์ุจิตรลดา            ปลานิลจึงกลายเป็นปลาสำคัญของไทย ช่วยให้เกษตรกรไทยมีอาชีพเพาะเลี้ยงปลานิลขาย เป็นปลาที่เเพร่หลาย ราคาถูก ทำให้ราษฎรเเม้ยากจนก็สามารถหามาบริโภคได้ตามพระราชประสงค์ ที่ทรงต้องการให้ราษฎรมีอาหารโปรตีนบริโภคกันอย่างทั่วถึง รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออาชีพปีะมงของประชาชนอย่างมหาศาลในปัจจุบัน ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปลานิลพระราชทาน อ้างอิง ฝ่ายวิชาการสถาพรบุ๊คส์ .( ๒๕๖๐ ). หนังสือชุดศาสตร์พระราชาสวนจิตรลดา .กรุ